สุพจน์ ไข่มุกด์
สุพจน์ ไข่มุกด์ | |
---|---|
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไทย | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กันยายน พ.ศ. 2488 |
สุพจน์ ไข่มุกด์ (เกิด 1 กันยายน พ.ศ. 2488) รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญคนที่หนึ่ง[1] อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการในคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ยกร่าง พ.ศ. 2558) และอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550
ประวัติการศึกษา
- รัฐศาสตรบัณฑิต สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการทูต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาการทูต, Institut International d' Administration Publique (IIAP) ประเทศฝรั่งเศส
- ปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์และกฎหมายระหว่างประเทศ, Universite des Sciences Sociales de Toulouse ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติการทำงาน
- เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ (เข้ารับตำแหน่ง วันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๖)
- เอกอัครราชทูต ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (เข้ารับตำแหน่ง วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓)
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๑ - ๑ กันยายน ๒๕๕๘)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
ข้อวิจารณ์
ในการประชุม สสร. ครั้งที่ 22/2550 วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2550 ณ อาคารรัฐสภา ได้มีการอภิปรายเรื่อง การร่างรัฐธรรมนูญให้รับรอง "ความหลากหลายทางเพศ" ใช้เวลากว่าสองชั่วโมง โดย สุพจน์ ไข่มุกด์ สมาชิก สสร. กล่าวว่า "...ด้วยความเห็นใจนะครับ แต่ว่าความเห็นใจนั้น คงจะมาเปลี่ยนแปลงหลักการคงไม่ได้นะครับ...ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เกิดมา ชายก็คือชาย หญิงก็คือหญิง...ผมถือว่า เป็นหลักการสากล...วรรคที่สองของมาตรา 30 บอกว่า ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อันนี้มันก็ล็อกในตัวมันเองนะครับว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้...ระบุไว้มีสองเพศเท่านั้นเอง คือ ชาย และหญิง เพราะฉะนั้นความหลากหลายทางเพศที่ใส่เข้ามา ถ้าหมายถึงเพศที่สามแล้ว มันก็คงจะติดนี่อยู่...[ส่วน] ทางด้านกฎหมาย คือว่า ปัญหาถ้าว่ามีเพศเพิ่มขึ้นจากชายและหญิงเป็นเพศที่สาม กฎหมายต่าง ๆ คงจะอลวนกันหมดเลย เพราะว่าจะต้องมีการแก้กฎหมาย...มันจะเกิดความโกลาหลแค่ไหน ในเรื่องของกฎหมายแพ่ง กฎหมายครอบครัวต่าง ๆ..."[6]
ในการไต่สวนความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ... เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2557 สุพจน์กล่าวตอนหนึ่งว่า "รถไฟความเร็วสูงยังไม่จำเป็นสำหรับไทย และเป็นไปได้ควรให้ถนนลูกรังหมดไปจากประเทศก่อน"[7]
อ้างอิง
- ↑ นายสุพจน์ ไข่มุกด์ รองประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ คนที่หนึ่ง ได้มาพบปะและกล่าวให้โอวาทกับยุวชนประชาธิปไตย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๖, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๐๙, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
- ↑ รายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 22/2550 วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน 2550, 2550 : 193.
- ↑ "ศาล รธน. ค้านกู้เงิน 2 ล้านล้าน รอถนนลูกรังหมดก่อน". Voice TV. 2014-01-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-01-08.
- ประวัติเว็บไซต์ส่วนตัวเก็บถาวร 2014-04-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2488
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์
- นักการทูตชาวไทย
- ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
- นิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา